KMBV Audit : รับตรวจสอบบัญชีบริษัท หจก. นิติบุคคล ทั่วประเทศ โดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต

โทร : 02-5125966-68

จากการสัมมนาโต๊ะกลมเกี่ยวกับ การพัฒนาบรรษัทภิบาลในประเทศไทย : วินัย 3 ประการ(CG Development in Thailand : The Three Disciplines) เมื่อวันที่ 13 กันยายน ที่ผ่านมา ทำให้เรามองเห็นแนวโน้ม และการพัฒนาบรรษัทภิบาลในประเทศไทยไปในทิศทางที่ดี โดยเฉพาะบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในแง่มุมของการเปิดเผยข้อมูล ความโปร่งใส และ

การได้รับการปฏิบัติที่ทัดเทียมกันของผู้ถือหุ้น
แม้ว่าบรรษัทภิบาลเข้ามามีบทบาทต่อวงการธุรกิจในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2543 จนได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางมากขึ้น และหลายบริษัทได้นำหลักการไปใช้จนประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี กระนั้นก็ตามใช่ว่าทุกบริษัทที่นำไปใช้แล้วจะไปได้ถึงจุดหมายปลายทาง เพราะยังมีส่วนปลีกย่อยอื่น ๆ ที่บรรษัทภิบาลยังไม่สามารถเจาะผ่านกรอบของวัฒนธรรมทางธุรกิจได้ เช่น ธุรกิจที่ยังมีลักษณะเป็นธุรกิจของครอบครัว ซึ่งยังไม่ได้ปรับทัศนคติเพื่อยอมรับเอาหลักการบริหารจัดการด้วยบรรษัทภิบาลมาปฏิบัติใช้ให้เกิดประสิทธิผล การที่กรรมการบริษัทยังความความรับผิดชอบ เนื่องจากไม่มีความรู้ความเข้าใจเพียงพอ รวมทั้งการที่นักลงทุนเองในภาพรวมแล้วยังไม่ได้ให้มูลค่า และความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างเป็นรูปธรรม
สำหรับมุมมองขององค์กรต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศเห็นว่า จากการที่ประเทศไทยได้เผยแพร่การปฏิรูปบรรษัทภิบาลให้สาธารณชนรับทราบในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมา เราได้พัฒนาจนมีความคืบหน้าของบรรษัทภิบาลที่ดีในระดับหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม การปฏิรูปก็ยังต้องก้าวเดินต่อไปข้างหน้าอีกมาก โดยเฉพาะโครงสร้างของกฎระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ และการบังคับใช้
ในการเสวนาโต๊ะกลมข้างต้นมีการกล่าวถึง วินัย 3 ประการ ที่เป็นเสาหลักของบรรษัทภิบาล อันประกอบด้วยวินัยตามกฎหมาย (Regulatory Discipline) วินัยตามกลไกของตลาด (Market Discipline) และวินัยในตัวเอง (Self-Restraint) ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
1. วินัยตามกฎหมาย จะต้องมีการจัดลำดับความสำคัญในด้านการนำไปสู่การปฏิบัติเสียใหม่ โดยต้องทบทวนระเบียนข้อบังคับให้รัดกุม ชัดเจน และทันสมัย สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจในยุคโลกาภิวัฒน์ นอกจากนั้น กลไกในการบังคับใช้กฎหมายต้องเข้มงวดยิ่งขึ้น หากมีการละเมิดต้องใช้บทลงโทษทั้งทางกฎหมาย และทางสังคมมาใช้อย่างจริงจัง โดยกลไกนี้ต้องการความคล่องตัว และมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการที่ชัดเจน โดยเฉพาะองค์กรที่เกี่ยวข้องในกระบวนการทางกฎหมายหลายส่วนยังขาดความเข้มแข็ง นอกเหนือไปจากต้องเพิ่มเติมความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์เกี่ยวกับการฉ้อฉล กลโกงในตลาดเงิน และตลาดทุนปัจจุบัน
ขณะนี้ การบังคับใช้กฎหมายดูเหมือนจะยังคงมีความยากลำบากหลายประการนอกจากการตีความข้อกฎหมาย และการถูกแทรกแซงจากการเมืองในบางกรณีแล้ว ทั้งนี้เพราะแต่ละครั้งที่มีการฟ้องร้องต่อศาลยุติธรรม ยังคงมีปัญหาในเรื่องของกระบวนการและอำนาจดำเนินการ เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการกับกับทรัพย์ และตลอดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (กลต.) จะต้องนำเรื่องไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ หลังจากนั้นต้องผ่านขั้นตอนของเจ้าหน้าที่อัยการเพื่อนำคดีขึ้นสู่ศาลยุติธรรมพิจารณาคดี โดย กลต. ไม่มีอำนาจที่จะยื่นเรื่องฟ้องร้องคดีต่อศาลยุติธรรมได้ด้วยตัวเอง
ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลยุติธรรม จะพบว่ามีความยุ่งยากในหลายขั้นตอน และมีผู้เกี่ยวข้องจากหลายฝ่าย จังใช้ระยะเวลาดำเนินการที่ยาวนาน เจ้าหน้าที่ซึ่งรับผิดชอบดูแลก็ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนโยกย้ายอยู่เสมอ ทำให้ขาดความต่อเนื่อง และในบางครั้งเจ้าหน้าที่ซึ่งรับผิดชอบมีความรู้ และความเข้าใจในธุรกิจไม่เพียงพอก็อาจทำให้มีปัญหามากยิ่งขั้น เมื่อคดีมีความยุ่งยากซับซ้อน การนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษดูเหมือนจะมีอุปสรรคอยู่บ่อยครั้ง เพราะมีความยากลำบากในการพิสูจน์ความผิด
2. วินัยตามกลไกของตลาด ซึ่งมีแรงผลักดันหลักมาจากนักลงทุนส่วนหนึ่งในตลาดที่เห็นความสำคัญ ทำให้เกิดการแข่งขัยกันเอง ในการที่จะพัฒนาบรรษัทภิบาลของแต่ละองค์กร การจัดลำดับบรรษัทภิบาลของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และการมอบรางวัลให้โดยองค์กรที่ได้รับความเชื่อถือ เป็นแนวทางหนึ่งที่พัฒนามาโดยต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามจำนวนบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่เข้าร่วมยังคงมีจำนวนน้อยเกินไป
หากมองในเชิงลึกแล้ว กลไกของตลาดที่มีต่อการพัฒนาบรรษัทภิบาล จะมาจากแรงผลักดันของนักลงทุนสถาบัน หรือนักลงทุนที่มองผลตอบแทนจากการลงทุนระยะยาว ซึ่งมีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญของการดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมากกว่านักลงทุนที่หวังผลตอบแทนระยะสั้น ทั้งนี้จากจำนวนนักลงทุนประเภทสถาบันในสัดส่วนประมาณร้อยละ 12 ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในปัจจุบัน คงพอที่จะทำให้คาดเดาได้ว่าวินัยตามกลไกของตลาดยังคงต้องการแรงผลักดันจากนักลงทุนอักมากกว่าจะเป็นเฟืองจักรสำคัญในการขับเคลื่อนบรรษัทภิบาลของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ให้ก้าวต่อไปข้างหน้า
3. วินัยในตัวเอง ในการที่จะก้าวไปสู่ยุคของบรรษัทภิบาลที่สมบูรณ์นอกจากข้อบังคับตามกฎหมายที่มีอยู่แล้ว กลต.เชื่อว่าจุดเริ่มต้นที่สำคัญ คือ การมีวินัยในตัวเอง นั่นคือ บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์โดยกรรมการบริษัทจะต้องควบคุมตนเองให้ปฏิบัติตามกรอบของธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด ซึ่งจากการสำรวจในปี 2005 ปรากฏว่ามีเพียงส่วนน้อยของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เท่านั้นที่กำหนดหลักธรรมาภิบาลในการดำเนินธุรกิจ
การมีบรรษัทภิบาลที่ดีจะช่วยให้นักลงทุนและผู้ถือหุ้นมีความเชื่อมั่นในการบริหารงานที่โปร่งใสและตรวจสอบได้ขององค์กรนั้นๆ หากผู้บริหารยึดถือแนวทางที่จะรักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นทุกรายและรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของตนเป็นสำคัญ ภาพลักษณ์ขององค์กรจะดีขึ้น ความเสี่ยงทางการเงินและการดำเนินงานก็จะลดน้อยลงอย่างเป็นรูปธรรม แต่หากกระทำในทิศทางที่ตรงกันข้าม อาจต้องเผชิญกับการลงโทษทางสังคม และการตรวจสอบอย่างเข้มงวดจาก กลต. ที่หันมาใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือ และนี่คงเป็นหนทางสุดท้ายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และไม่มีใครอยากจะเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้น

2021 06 10 14 57 10

 

บริการของเรา :

  • ตรวจสอบประจำปี
  • ตรวจสอบรายไตรมาส
  • ตรวจสอบครึ่งปี
  • ตรวจสอบกรณีพิเศษ

audit hp

บริษัท สำนักงานสอบบัญชี กมลบวร จำกัด รับงานตรวจสอบดังนี้

1. ตรวจสอบบัญชีประจำปีตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป
2. ตรวจสอบงบการเงิน รายไตรมาส หรือรายหกเดือน
3. ตรวจสอบกรณีพิเศษตามวิธีการที่ตกลงร่วมกัน
4. ตรวจสอบระบบการควบคุมภายในและระบบบัญชี
5. การตรวจสอบอื่นๆ ทางด้านภาษีและอากร

การตรวจสอบบัญชีประจำปี

1. งบการเงินได้บันทึกเป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป
2. งบการเงินแสดงความถูกต้องและครบถ้วน
3. งบดุลแสดงความมีอยู่จริง
4. งบการเงินแสดงมูลค่าที่เหมาะสมเป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป และได้ถือปฏิบัติเช่นเดียวกับปีก่อน
5. งบการเงินได้มีการเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป

เกี่ยวกับ KMBV Audit